วันพุธที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2562




ชมแสง AURORA สุดฟิน



 ประเทศแคนนาดา (CANADA)


พื้นที่รอบๆ ทะเลสาปพริสไทน์ (pristine Lake) ทางด้านเหนือของออนทาริโอ (Ontario)และเมืองเล็กอย่าง ทุนดรา (tundra) ที่แห่งนี้จะสามารถมองเห็น”แสงเหนือ”ได้ไกลถึงชายแดนฝั่งใต้ของสหรัฐอเมริกา แต่เชื่อเถอะว่าอยู่ฝั่งแคนาดาเนี่ยคือที่นั่งแถวหน้าสำหรับการชมปรากฏการณ์นี้แล้
 ประเทศนอร์เวย์ (NORWAY)


เมือง Tromso ทางตอนเหนือของนอร์เวย์ถือเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ยอดเยี่ยม สำหรับการไปดูแสงสีเขียวที่น่าทึ่งแบบนี้ แถมยังมีทางเลือกมากกว่าที่อื่นคือการนั่งเรือไปรอบๆ ชายฝั่ง ด้วยเรือ “Hurtigruten” ที่จะปลุกเราเมื่อเกิดปรากฏการณ์”แสงเหนือ”ขึ้น

 ประเทศกรีนแลนด์ (GREENLAND)



ด้วยทิวทัศน์ที่สวยงามเป็นทุนเดิมอยู่แล้วทำให้ “กรีนแลนด์“ เป็นตัวเลือกแรกๆสำหรับนักท่องเที่ยวทั่วๆไปที่ต้องการมาตามล่า”แสงเหนือ” เพราะถึงจะไม่ได้พบกับแสงเหนือ แต่การได้เห็นวิวทิวทัศน์ของที่นี่ก็ถือว่าคุ้มค่าแล้ว ข้อดีอีกอย่างของกรีนแลนด์ก็คือที่นี่จะสามารถรับชม”แสงเหนือ”ได้เกือบจะทั่วประเทศเลย เรียกว่าไม่พลาดแน่ๆถ้ายังไม่หลับนะ

ประเทศสก็อตแลนด์ (SCOTLAND)


แม้ว่าส่วนหนึ่งของหมู่เกาะอังกฤษที่ขึ้นชื่อเรื่องพายุ หมอก และเมฆ อย่างสก็อตแลนด์จะไม่ใช่ที่ๆเหมาะแก่การดูท้องฟ้ามากนัก แต่ในช่วงฤดูหนาวที่ฟ้าเริ่มเปิดที่นี่คืออีกหนึ่งแห่งที่จะมอบโอกาสชม”แสงเหนือได้เป็นอย่างดีเลย

 ประเทศเดนมาร์ก (DENMARK)





แม้ว่าเดนมาร์คจะเป็นหนึ่งใน หมู่เกาะอังกฤษ ที่ขึ้นชื่อเรื่องพายุก็ตาม ที่นี่ก็ยังมีหมู่เกาะ Faroe ที่สามารถล่าแสงเหนือได้อีกที่หนึ่ง



แหล่งที่มาของลิงค์
Aurora

ออโรรา เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ที่มีแสงเรืองบนท้องฟ้าในเวลากลางคืน โดยมักจะขึ้นในบริเวณแถบขั้วโลก โดยบางครั้งจะเรียกว่า แสงเหนือหรือ แสงใต้ ขึ้นอยู่กับแหล่งกำเนิด
ปรากฏการก้องเป็นตัวอย่างปรากฏการณ์ทางฟิสิกส์ที่น่าทึงที่สุดที่เกิดขึ้นในอวกาศที่ใกล้พื้นโลก มันอาจปรากฏจากสิ่งจางๆ เป็นวงนิ่ง แล้วระเบิดออกมาเป็นสีต่าง ๆ พุ่งกระจายภายในเวลาไม่กี่วินาที บางครั้งจะปรากฏเหมือนมันจะแตะกับพื้น หรือในเวลาอื่นอาจเห็นมันพุ่งสูงขึ้นสู่ท้องฟ้า แต่ความจริงแล้ว แสงออโรรานั้นเกิดขึ้นที่ความสูงจากพื้นโลก (altitudes) ประมาณ 100 ถึง 300 กิโลเมตร บริเวณที่อยู่บริเวณบรรยากาศชั้นบนที่อยู่ใกล้กับอวกาศ



สถานที่และโอกาสการเกิดออโรรา


ในเขตที่มีการปรากฏของออโรรา สามารถสังเกตออโรราได้ทุกคืนที่ฟ้าโล่งในฤดูหนาว โดยมีข้อสังเกตดังนี้

  • ออโรราจะปรากฏบ่อยครั้ง ตั้งแต่เวลา 22.00 น ถึง เที่ยงคืน
  • ออโรราจะสว่างจ้าในช่วง 27 วันที่ดวงอาทิตย์หันด้านแอคทีฟ (Active Area) มายังโลก
  • ช่วงปลายฤดูใบไม้ร่วงจนถึงต้นฤดูใบไม้ผลิ ในเดือนตุลาคม กุมภาพันธ์ และ มีนาคม เป็นเดือนที่เหมาะสำหรับการชมออโรราทางซีกโลกเหนือ
  • ออโรรามีความสัมพันธ์กับจุดสุริยะ (Sun Spot) บนดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นวัฎจักรประมาณ 11 ปี แต่ดูเหมือนว่า จะมีการล่าช้าไป 1 ปีสำหรับการเกิดจุดดับมากที่สุดกับการเกิดออโรรามากที่สุด

ตารางที่ 1 แสดงความถี่ในการปรากฏออโรราในสถานที่ต่างๆทั่วโลก
  • ออโรราจะปรากฏลดลง 20-30% กว่าตอนที่เกิดจุดสุริยะมากที่สุด เมื่อเกิดจุดสุริยะบนดวงอาทิตย์น้อยที่สุด
ออโรราจะปรากฏในแถบประเทศเมดิเตอเรเนียนเมื่อเกิดจุดสุริยะหรือมีลมสุริยะมากๆ อาจถึง 10 ปีต่อครั้ง โดยเฉลี่ยแล้วเกิด 100 ปีต่อครั้ง





สีของออโรรา
ดวงอาทิตย์ปล่อยแสงทุกสีที่มองเห็นได้ออกมาก ทำให้เราเห็นแสงอาทิตย์เป็นสีขาว ส่วนสเปคตรัมของออโรรา ก่อนจะศึกษารายละเอียด เราต้องรู้เรื่อง สาเหตุการเกิดแสงก่อน
ในบรรยากาศประกอบด้วยไนโตรเจน และ ออกซิเจน เป็นหลัก อนุภาคของแก๊สเหล่านี้จะปลดปล่อยโฟตอนซึ่งมีความยาวคลื่นคงที่ เมื่ออนุภาคมีประจุไฟฟ้า กระตุ้นแก๊สในบรรยากาศ อิเล็กตรอนจะเริ่มเคลื่อนที่รูปนิวเคลียสในวงโคจรที่เปลี่ยนแปลงไป เพราะมีพลังงานเหลือเฟือ อนุภาคที่ถูกกระตุ้นจะไม่เสถียรและจะปลดปล่อย พลังงานออกมาในรูปของแสง เรียกว่าแสงนี้ว่า ออโรรา
แสงสีเขียวเข้ม เกิดที่ความสูง (Altitudes) ที่ 120 ถึง 180 กิโลเมตร แสงเหนือสีแดงปรากฏที่ความสูงที่สูงกว่า ส่วนสีฟ้า และม่วงปรากฏที่ความสูงต่ำกว่า 120 กิโลเมตร เมื่อเกิดพายุสุริยะ 000 แสงสีแดงจะปรากฏที่ความสูงตั้งแต่ 90 ถึง 100 กิโลเมตร
เมื่อออโรราจางลง มันจะปรากฏเป็นสีขาวเมื่อมองด้วยตาเปล่า เมื่อมันสว่างขึ้น สีจึงมองเห็นขึ้นมา และสีเขียวซีดที่เป็นเอกลักษณ์ของมันจะมองเห็นขึ้นมา
เมื่อมีความหนาแน่นมากขึ้น ในบริเวณที่ต่ำลงมาจะมองเห็นเป็นสีเขียวสด และ สีแดงจางๆ จะมองเห็นที่ความสูงมากๆ
เหนือชั้นบรรยากาศขึ้นไป 100 กิโลเมตร ประกอบด้วยโมเลกุลไนโตรเจนและออกซิเจนเป็นส่วนใหญ่ ซึ่ง ไนโตเจนจะมีมากที่ความสูง 10 กิโลเมตร และออกซิเจน มีมากที่ 200 กิโลเมตร เส้นกราฟสีเขียวแสดงความหนาแน่นของก๊าซออกซิเจนและสีม่วงแสดงความหนาแน่นของก๊าซไนโตรเจน ณ ความสูงต่าง ๆ ในชั้นบรรยากาศเทอโมสเฟียร์ เมื่ออะตอมออกซิเจนถูกกระตุ้น มันจะปล่อยแสงมากมายหลายสีออกมาก แต่สีที่ที่ส ว่างที่สุดคือที่แดงและสีเขียว






ดวงอาทิตย์ กับ ออโรรา

ดวงอาทิตย์ ก็มีชั้นบรรยากาศ และ สนามแม่เหล็กเช่นกัน ชั้นบรรยากาศประกอบด้วยไฮโดรเจน ซึ่งตัวมันเองก็ประกอบด้วยอนุภาคย่อย: โปรตอน กับ อิเล็กตรอน อนุภาคเหล่านี้ ถูกเผาไหม้โดยดวงอาทิตย์
ลมเหล่านี้มักจะถูกผลักเมื่อมาชนกับสนามแม่เหล็กโลก และเปลี่ยนรูปร่าง เหมือนกับเราเปลี่ยนรูปร่างของฟองสบู่เมื่อเราเป่าบนพื้นผิวมัน เราเรียกบริเวณที่มีการเปลี่ยนแปลงนี้ว่า เม็กนีโตสเฟียร์ (Magnetosphere) โดยปรากฏการณ์จะเกิดในด้านกลางวันของโลก ซึ่งลมสุริยะจะพัดมาเฉพาะทางนี้ และจะเรียวตรงเป็นหางเหมือนรอยน้ำหลังเรือแล่น เราเรียกมันว่า เม็กนีโทเทล (Magneto tail) และแน่นอน มันชี้ไปด้านตรงข้ามดวงอาทิตย์
เมื่อเกิดการบีบอัดกับสนามแม่เหล็กโลกต้องใช้พลังงาน เหมือนกับเราต้องใช้พลังงานในการกดลูกโป่งที่มีลมอยู่ข้างใน กระบวนการทั้งหมดยังไม่เป็นที่รู้แน่ชัด แต
ตอนนี้เรามีชั้นเม็กนีโตสเฟียร์ ซึ่งเป็นที่ที่ลมสุริยะถูกบีบอัด และ อนุภาคมีประจุก็แผ่ไปทุกที่ในสนามแล้ว อนุภาคสุริยะจากลมสุริยะ มักจะกลับเข้าสู่หางของ เม็กนีโทสเฟียร์และพุ่งตรงไปยังดวงอาทิตย์ และจากนั้น ถ้าเงื่อนไขนี้ถูกต้อง ความกดดันจากลมสุริยะก็จะทำให้เกิดความต่างศักย์ไฟฟ้า ระ โวลต์ ความต่างศักย์นี้ จะผลักอิเล็กตรอน (ซึ่งมีแสงสว่าง) พุ่งสู่ขั้วแม่เหล็กโลก ด้วยความเร็วที่สูง เหมือนอิเล็กตรอนในโทรทัศน์ ที่พุ่งตรงมาชนกับจอภาพ มันเคลื่อนไปตามสนามอย่างเร็วสู่พื้นโลก ทั้งเหนือและใต้ จนกระทั่งอิเล็กตรอนจำนวนมหาศาลถูกผลักลงสู่ชั้นบรรยากาศข้างบน คือ ชั้น ไอโนโนสเฟียร์ (Ionosphere) ในชั้นนี้ อิเล็กตรอนจะพุ่งเข้าชนกับอะตอม ซึ่งทำให้อะตอมของแก๊สเกิดพลังงาน และปล่อยทั้งแสง และ อิเล็กตรอนตัวอื่นอีก และทำให้เกิดแสงในชั้นบรรยากาศนี้และชักนำให้กรมือนตอนที่มันพุ่งเข้ามา เพราพลังงานเหล่านี้ กลายเป็นส่วนหนึ่งของออโรรา ออโรรา มีลักษณะคล้ายกับ นีออน เว้นแต่ออโรรา เกิดกับแก๊สในชั้น ไอโอโนสเฟียร์ แทนที่จะเกิดในหลอดแก้ว และกระแสวิ่งกลับเข้าออกระหว่างสนามแม่เหล็ก แทนที่จะเป็น ลวดตะกั่ว





ออโรรากับวิถีชีวิต

  • เหตุการณ์แรกเกี่ยวข้องกับจุดดับบนดวงอาทิตย์ (Sunspot) ซึ่งเป็นบริเวณผิวดวงอาทิตย์ที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าบริเวณส่วนอื่น และเป็น บริเวณที่สนามแม่เหล็กจากดวงอาทิตย์สามารถทะลุออกจากดวงอาทิตย์ออกมาสู่อวกาศภายนอกได้ ดังนั้น เมื่อเกิดการระเบิดที่ผิวดวงอาทิตย์ในบริเวณนี้ กระแสอนุภาคจะถูกผลักดันออกมาตามแนวเส้นแรงแม่เหล็กนี้มาสู่โลก และเมื่อกระแสอนุภาคจากจุดดับพุ่งชนบรรยากาศเบื้องบนของโลก มันจะปะทะอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าที่อยู่ในชั้นบรรยากาศของโลก (Ionosphere) การชนกันเช่นนี้จะทำให้เกิดกระแสประจุซึ่งมีอิทธิพลมากมายต่อการสื่อสารทางวิทยุ

  • เหตุการณ์สองที่มีอิทธิพลทำให้สภาวะของอวกาศระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ปรวนแปร ในกรณีมีพายุสุริยะที่รุนแรงคือ ชั้นบรรยากาศ ของโลกอาจจะได้รับรังสีเอกซ์มากกว่าปกติถึง 1,000 เท่า รังสีเอกซ์นี้ จะทำให้อิเล็กตรอนที่กำลังโคจรอยู่รอบอะตอม กระเด็นหลุดออก จากอะตอม และถ้าอิเล็กตรอนเหล่านี้ชนยานอวกาศ ยานอวกาศก็จะมีความต่างศักย์ไฟฟ้าสูง ซึ่งจะทำให้วงจรอิเล็กทรอนิกส์ในยานเสีย และนั่นก็หมายถึงจุดจบของนักบินอวกาศ

  • ส่วนเหตุการณ์สาม ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นเหตุการณ์ที่รุนแรงที่สุด เกิดขึ้นเมื่อกลุ่มก๊าซร้อนหลุดลอยมาถึงโลก และเมื่อมันพุ่งมาถึงโลก สนามแม่เหล็กในก๊าซร้อนนั้นจะบิดเบนสนามแม่เหล็กโลก ทำให้มีกระแสไฟฟ้าไหลในชั้นบรรยากาศของโลกอย่างมากมาย กระแสไฟฟ้านี้ จะทำให้ชั้นบรรยากาศของโลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น มันจึงขยายตัว ทำให้ยานอวกาศที่เคยโคจรอยู่เหนือบรรยากาศ ต้องเผชิญแรงต้านของอากาศ ซึ่งจะมีผลทำให้ยานมีความเร็วลดลงแล้วตกลงสู่วงโคจรระดับต่ำ และตกลงโลกเร็วกว่ากำหนด
ในความเชื่อของชาวไวกิง เชื่อว่าแสงเหนือคือวิญญาณของหญิงพรหมจรรย์ที่ออกมาร่ายรำบนท้องฟ้า








แหล่งที่มาของลิงค์
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B2_(%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C)

วันจันทร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2562

ไปตามล่าหาแสงเหนือกันเถอะ


 ประเทศสวีเดน (SWEDEN) 



ด้วยสภาพอากาศแบบเฉพาะตัวของพื้นที่ ในสวีเดนนั้นได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์มาแล้วว่าเป็น
จุดชม”แสงเหนือ”ที่ดีที่สุดแห่งหนึ่ง โดยเฉพาะ “Torneträsk Lake” ทะเลสาบที่มีความยาวถึง 70 กม. ใกล้ๆกับอุทยานแห่งชาติอาบิสโก้ ที่มีท้องฟ้าโปร่งๆเหมาะสำหรับการชมแสงเหนือเป็นอย่างมาก


 ประเทศรัสเซีย (RUSSIA)



ในทางตอนเหนือของรัสเซีย คือจุดที่คุณจะมีโอกาสที่จะได้พบกับ “แสงเหนือ” อย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมือง Murmansk ใกล้ๆกับ The Kola Peninsula  รัสเซียถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะทำให้เราได้พบกับแสงเหนือ

 ประเทศไอซ์แลนด์ (ICELAND)

หลบออกจากแสงสีในเมืองหลวงแล้วมุ่งหน้าสู่อุทยานแห่งชาติซิงเควลลิร์ ที่ซึ่งแผ่นดินของสหรัฐอเมริกากับยูเรเชียนมาบรรจบกันจนเกิดเป็นหุบเขาขึ้นมา และส่วนที่ทำให้ไอซ์แลนด์ต่างจากประเทศอื่นก็คือคุณสามารถที่จะมองเห็นปรากฏการณ์แสงเหนือได้แทบทุกที่ภายนอกเมืองหลวงของไอซ์แลนด์อย่าง “เรคจาวิค” (Reykjavik)

 ประเทศฟินแลนด์ (FINLAND)



มุ่งหน้าสู่ ลูสโต (Luosto) ทางตอนเหนือของฟินแลนด์ และเพื่อเพิ่มโอกาสที่จะได้เจอกับ”แสงเหนือ”แบบตัวเป็นๆเราแนะนำ “Hotel Aurora” โรงแรมที่จะสัญญาณเตือนดังขึ้นเพื่อเรียกคุณออกไปชมเมื่อเกิดปรากฏการณ์ขึ้น หรืออาจจะไปที่สถานที่มีดาวสวยๆอย่าง “เมืองเนลลิม” ใกล้ๆกับ “ทะเลสาบอินารี” ที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศฟินแลนด์ก็ยังได้

  รัฐอะแลสกา สหรัฐอเมริกา (ALASKA)



หากอยู่ในเขตที่เรียกว่า “The Zone”แล้วล่ะก็ แทบจะการันตีได้เลยว่าเราจะได้พบกับ”แสงเหนือ” อย่างแน่นอน เพราะฉะนั้นออกจากเมืองให้ไวแสงเหนือรออยู่ข้างนอกแล้ว ><

แหล่งที่มาของลิงก์

ชมแสง AURORA สุดฟิน  ประเทศแคนนาดา (CANADA) พื้นที่รอบๆ ทะเลสาปพริสไทน์ (pristine Lake) ทางด้านเหนือของออนทาริโอ (Ontario...